เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ หลายคนนั้นอาจกำลังนึกเครื่องวัดที่มาพร้อมกับโพรบสำหรับการวัดค่าอุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็นเทอร์โมมิเตอร์สำหรับการวัดอุณหภูมิของร่างกายจากการไว้ใต้ลิ้นหรือสอดไว้ใต้รักแร้ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิอาหารที่จะใช้โพรบปลายแหลมสัมผัสกับวัตถุอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าความร้อนได้เข้าไปถึงข้างใน และยังมีตัวเลือกอื่นๆ มากมายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดก็เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer) เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้ลำแสงอินฟราเรด ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท อย่างการตรวจสอบระดับความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดปัญหาจากภายใน เพราะภายนอกของอุปกรณ์ร้อนกว่ากำหนด อาจเกิดจากสิ่งผิดปกติภายในของอุปกรณ์ ดังนั้นการวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ใช้ลำแสงในการตรวจสอบจึงมีความปลอดภัยที่สูงกว่าการสัมผัสโดนตรง
หลักการใช้งานของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดนั้นค่อนข้างง่าย โดยตัวเครื่องจะมีมวลสำหรับการปล่อยพลังงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะปล่อยออกมาในรูปแบบของลำแสงความร้อน เนื่องจากมีการปล่อยความร้อนจากวัตถุ สามารถใช้ความแตกต่างระหว่างรังสีอินฟราเรดที่ออกจากวัตถุและสภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุนั้น
เทอร์โมมิเตอร์แบบ IR (Infared) ทำงานโดยการโฟกัสแสงที่มาจากวัตถุในรูปแบบของรังสีอินฟราเรด และจับแสงนั้นเข้าไปในเครื่องตรวจจับหรือ Thermopile โดย Thermopile จะจับรังสีอินฟราเรดซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนและเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า โดยสำหรับปริมาณไฟฟ้าที่เกิดจากการแผ่รังสีของวัตถุที่ทำการวัด จะแสดงบนเทอร์โมมิเตอร์ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที นั่นหมายความว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดมีวิธีที่รวดเร็วในการวัดอุณหภูมิต่างๆ
สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด คือเลือกย่านการวัดภายในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยสำหรับย่านการวัดช่วงอุณหภูมิที่เฉพาะเจาะจงจะแสดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างสูงสุด แต่หากใช้วัดเกินย่านที่กำหนดไว้จะแสดงผลลัพธ์ออกมาไม่แม่นยำ ดังนั้นก่อนที่จะเลือกเทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดจะต้องคิดให้รอบคอบเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการจะวัด และย่านอุณหภูมิที่ต้องการวัด
อัตราส่วนระยะต่อวัตถุ (D:S) ของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด นั้นได้แก่ 4:1, 8:1, 30:1 และ 50:1 ซึ่งอัตราส่วนที่เยอะนั้นจะทำให้สามารถอยู่ห่างจากวัตถุเป้าหมายในขณะที่การอ่านค่ายังคงถูกต้อง และสามารถวัดวัตถุที่มีขนาดเล็กได้ ตัวอย่างเช่น อัตราส่วน 30:1 คือสามารถยืนห่างจากเป้าหมายได้ 30 นิ้ว และยังคงวัดชิ้นงานขนาด 1 ตารางนิ้วได้อย่างแม่นยำ ในการวัดพื้นที่เดียวกันโดยใช้ 8:1 จะต้องยืนห่างออกไป 8 นิ้ว โดยอัตราส่วนระยะต่อจุดที่วัดทีมากขึ้นมักพบในรุ่นที่มีช่วงอุณหภูมิสูงมาก ทำให้สามารถอยู่ห่างจากความร้อนได้อย่างปลอดภัย
สำหรับข้อควรระวัง เมื่อเลือกย่านการวัดของเครื่อง IR ควรแน่ใจว่าได้เลือกย่านการวัดและอัตราส่วนระยะต่อจุดที่ต้องการวัด เมื่อได้เทอร์โมมิเตอร์มาแล้ว สิ่งแรกที่ทำคือควรศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด และใช้เครื่องมือตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อให้ได้การวัดที่แม่นยำที่สุด
แม้ว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดจะถูกจำกัด ให้วัดได้เพียงอุณหภูมิพื้นผิว แต่ยังคงเป็นเครื่องมือที่วิศวกร ช่างเทคนิค ในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ความสำคัญและเลือกใช้ โดยทาง SCMA นั้นก็สินค้าประเภท เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด ที่การรันตีคุณภาพด้วยแบรนด์ชั้นนำ อีกทั้งยังเลือกได้มากมาย เพื่อให้การใช้งานนั้นทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ติดต่อเข้ามาได้เลยที่ SCMA
Login and Registration Form