Food Grade คืออะไร มีระดับมาตรฐานแบบไหนบ้าง
Food Grade เรื่องอาหารต้องสะอาดและปลอดภัย
สำหรับอาหารแล้ว เรื่องของรสชาตินั้นก็เรียกได้ว่ามีความสำคัญต่อการเลือกรับประทานอย่างแน่นอน แต่นอกจากความอร่อยแล้ว หลายคนนั้นก็เน้นไปที่เรื่องของวัสดุที่ใช้ เพื่อให้ได้สิ่งสดใหม่ สร้างคุณประโยชน์ในการรับประทาน และก็ยังมีอีกสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ก็คือเรื่องของ ความสะอาด จะเป็นที่ตัวอาหารเอง หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์สำหรับบรรจุเองต่าง ๆ ก็ตาม โดยจะมั่นใจได้ยังไงว่าอาหารจะสะอาด ก็ต้องไปดูที่ Food Grade นั่นเอง ซึ่งใครที่กำลังสงสัยกันอยู่ว่า Food Grade นั้นคืออะไร SCMA ก็จะมาคลายความสงสัยนั้นให้เอง จะเป็นยังไงนั้น ไปดูกันเลย
Food Grade คืออะไร
Food grade หมายถึง มาตรฐานหรือคุณภาพของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ ที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยผ่านการรับรองในเรื่องของความปลอดภัยสำหรับการใช้ร่วมกับอาหาร และไม่มีสารพิษที่อาจจะปล่อยออกมาปนเปื้อนกับอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยมักจะใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร เครื่องมือทำครัว อุปกรณ์การแปรรูปอาหาร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียม การจัดเก็บ หรือการบรรจุอาหาร
ระดับมาตรฐานของ Food Grade
เรื่องมาตรฐานของ Food Grade นั้นก็มีหลายระดับด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงานไหนก็สามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้ โดยจะมีดังต่อไปนี้
มาตรฐาน CODEX เป็นมาตรฐานที่พัฒนาโดย มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นมาตรฐานสากลสำหรับความปลอดภัยของอาหาร รวมถึงวัสดุที่สัมผัสกับอาหารที่มีอยู่ตามทั่วโลก
มาตรฐาน FDA มีชื่อเต็มว่า มาตรฐานขององค์การอาหารและยา (FDA) เป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นมาตรฐานกำหนดความปลอดภัยของวัสดุที่ใช้สัมผัสกับอาหาร เช่น พลาสติก โลหะ ยาง และวัสดุอื่น ๆ ที่อาจถูกใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารหรืออุปกรณ์การแปรรูปอาหาร
มาตรฐาน EU เป็นมาตรฐานจากยุโรป (European Union - EU) กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับวัสดุที่สัมผัสกับอาหาร (Regulation (EC) No 1935/2004) และต้องการให้วัสดุเหล่านั้นปลอดภัยต่อการใช้งานกับอาหาร
มาตรฐานของญี่ปุ่น มาตรฐานของ Food Grade จากประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีชื่อว่า Japan Food Sanitation Law โดยจะเป็นตัวสำหรับกำหนดมาตรฐานสำหรับวัสดุที่ใช้สัมผัสกับอาหาร
มาตรฐาน NSF International Food Grade มาตรฐาน NSF International ถือว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่ครอบคลุมการรับรองความปลอดภัยของวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและน้ำดื่ม
มาตรฐานขององค์กรเอกชน สำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดสำหรับวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น มาตรฐาน ISO 22000
วัสดุที่ใช้มาทำ Food Grade
วัสดุที่นำมาเป็น Food Grade ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ทั่วไปหรืออุตสาหกรรมอาหาร ต่างก็มีหลากหลายประเภท เพื่อการใช้งานตามลักษณะการใช้และความเข้ากันได้กับอาหารต่าง ๆ โดยจะมีวัสดุตามนี้
Stainless Steel เป็นวัสดุที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากมีความทนทานต่อการกัดกร่อน สามารถทำความสะอาดง่าย และไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร สเตนเลสสตีลเกรด 304 และ 316 มักจะถูกใช้ในถัง หม้อ แผ่นสแตนเลส และอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร
Plastics มักจะถูกใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น ขวด กล่อง และถุงบรรจุอาหาร โดยจะต้องเป็นประเภทที่ไม่มีสารพิษ เช่น โพลีเอทิลีน (PE), โพลีโพรพิลีน (PP), โพลีคาร์บอเนต (PC), และโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET)
Glass เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ปลอดสารพิษและไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร เหมาะสำหรับบรรจุของเหลว เครื่องดื่ม และซอส
Rubber มักจะใช้งานในซีล ปะเก็น และอุปกรณ์ที่ต้องการความยืดหยุ่นและการกันน้ำ เพื่อเอาไว้สำหรับคลุมอาหารต่าง ๆ
Ceramics วัสดุจำพวกเซรามิกมักจะเป็นแบบเคลือบ โดยจะนำไปทำเป็นจาน ชาม และอุปกรณ์ครัวที่สัมผัสกับอาหารเวลาจะรับประทานนั่นเอง
Aluminum มักจะถูกใช้ผลิตเป็นกระป๋องอาหารและเครื่องดื่ม หรือเครื่องครัวบางชนิด โดยผ่านการเคลือบหรือการชุบเพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับอาหารแล้วเท่านั้น
Paper มักจะใช้สำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารแห้ง เช่น กล่องซีเรียล หรือบรรจุภัณฑ์อาหารฟาสต์ฟู้ด แต่ต้องผ่านการเคลือบหรือการปรับปรุงเพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำมันและความชื้น
มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนนั้นก็คงจะได้รู้แล้วว่า Food Grade คืออะไร มีระดับมาตรฐานแบบไหนบ้าง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ หรือขนาดย่อยสามารถเลือกวัสดุ Food Grade เพื่อนำมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย ไม่เว้นแม้แต่ผู้บริโภคที่สามารถตรวจสอบดู Food Grade จากบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจอีกด้วย
Login and Registration Form