การวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Electrical Conductivity หรือเรียกย่อๆว่าค่า EC) เป็นขั้นตอนสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพน้ำในด้านสิ่งแวดล้อม, งานด้านการเกษตรและด้านการเจริญเติบโตของพืช โดยเครื่องมือวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานนี้นั้นก็คือ Electrical Conductivity Meter หรือ เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ ที่สามารถเรียกย่อ ๆ ว่า EC Meter นั่นเอง
ตัวเครื่องมือ Electrical Conductivity Meter หรือเครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ซึ่งการใช้งานเครื่องมือนี้จะช่วยให้บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำ มีข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจ สำหรับการปรับปรุงสภาพน้ำและจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การนำไฟฟ้าของน้ำมีความสำคัญในหลาย ๆ ด้าน เช่น การประเมินคุณภาพน้ำ, การใช้น้ำในเกษตรกรรม และการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในน้ำ นอกจากนี้การนำไฟฟ้าของน้ำยังมีบทบาทสำคัญในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำด้วย การวัดค่านี้สามารถช่วยให้เราเข้าใจและสามารถปรับปรุงคุณภาพและการใช้งานน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หน่วยในการวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Electrical Conductivity) จะนิยมรายงานค่าในหน่วย mS/cm และ µS/cm ซึ่งเป็นหน่วยที่รองรับในระดับสากล
ความสามารถในการนำไฟฟ้าของน้ำนั้นมักถูกวัดโดยใช้ค่า Electrical Conductivity (EC) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่สามารถผ่านน้ำได้ น้ำที่มีค่าความนำไฟฟ้าสูงมักจะมีปริมาณสารละลายที่มาก เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) หรือเกลืออื่น ๆ ดังนั้นน้ำทะเลมักจะมีค่าความนำไฟฟ้าสูงกว่าน้ำจืด เนื่องจากมีเกลือละลายอยู่มากในน้ำทะเล
เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Electrical Conductivity meter) จะอาศัยหลักการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า โดยวัดต่อหน่วยพื้นที่ที่กำหนดหรือวัดปริมาณประจุที่อยู่ในน้ำทั้งหมด แล้วแสดงผลออกมาเป็นค่าความนำไฟฟ้า (EC) ที่หน้าจอของตัวเครื่อง ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด Total dissolved solids (TDS)
หน่วย SI (International Systems of Units) ของค่า Conductivity การนำไฟฟ้าคือซีเมนส์ต่อเมตร (S/m) หมายความว่าของเหลวสามารถนำกระแสไฟฟ้าผ่านได้ดีเพียงใด เมื่อดูค่า EC ในน้ำหรือของเหลว โดยทั่วไปเราจะพบว่าน้ำในสภาพธรรมชาติ เช่น น้ำฝน, น้ำในทะเลสาบ, แม่น้ำ ฯลฯ จะมีค่า EC ต่ำ (น้ำบริสุทธิ์ไม่นำไฟฟ้าไม่มีค่า EC=0) เมื่อน้ำอยู่ภายใต้มลภาวะมีการปนเปื้อน หรือมีสิ่งเจือปน จึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของค่าความนำไฟฟ้า (EC) ของน้ำนั้น เนื่องจากสารที่ละลายจะเพิ่มระดับของค่า EC ด้วยเหตุนี้ ค่าความนำไฟฟ้าของน้ำจึงเป็นเครื่องบ่งชี้มลพิษในน้ำได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งเจือปนเช่น เกลือในน้ำทะเลทำให้เกิดการอ่านค่า EC ที่สูงมาก เนื่องจากน้ำมีเกลือละลายอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกลือละลายมันจะแยกตัวออกเป็นไอออน (อะตอมที่มีประจุไฟฟ้า)
ถึงแม้ว่าหน่วย SI คือซีเมนส์ต่อเมตร (S/m) แต่ในทางปฎิบัติค่า Conductivity ในน้ำไม่สูงมากนัก จึงนิยมใช้เป็นไมโครซีเมนส์/เซ็นติเมตร (µS/cm) และค่า Conductivity จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น ดังนั้นค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (EC) มักจะถูกบันทึกที่ 25°C โดยมีอุณหภูมิและค่า EC พร้อมกัน หน่วยวัดอื่นสำหรับค่า EC คือ mS/cm หรือมิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร (1 mS/cm = 1000 µS/cm)
เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Electrical Conductivity Meter) มีหลายชนิด สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์และการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้
ก่อนการใช้งานเครื่องมือวัดค่าความนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity meter) ควรทำการสอบเทียบมาตรฐาน (Calibration) โดยสามารถทำได้ด้วยการสอบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ค่าต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน สำหรับการสอบเทียบที่นิยมใช้คือการสอบเทียบแบบ 1 จุด ดังนี้
สอบเทียบที่จุด 84 µS/cm, 1413 µS/cm, 5000 µS/cm, 12880 µS/cm, 80000 µS/cm และ 111800 µS/cm ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงการวัดของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสเปกและย่านการวัดของตัวเครื่อง ซึ่งบางเครื่องอาจสอบเทียบได้มากกว่า 1 จุด การสอบเทียบมาตรฐานจะทำให้การวัดค่า EC ให้ผลที่ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
เครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Electrical Conductivity Meter หรือ EC Meter) เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ การใช้งานเครื่องมือนี้ช่วยให้บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำมีข้อมูลที่สำคัญในการตัดสินใจ สำหรับการปรับปรุงสภาพน้ำและการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Login and Registration Form