เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ

เมื่อพูดถึงเครื่องวัดความชื้นในวัสดุหรือวัตถุดิบ สำหรับการอุปโภค และบริโภคที่ต้องควบคุมความชื้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ใช้วัดความชื้นที่แพร่หลายในการวัดค่าความชื้น ไม่ว่าจะเป็นแบบมีเข็ม และ แบบสัมผัส ใช้งานได้ง่าย และวัดค่าได้รวดเร็ว โดยทั้งสองเทคโนโลยีนี้สามารถวัดความชื้นได้เหมือนกันแตกต่างกันที่หลักการทำงาน และการใช้งาน โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ

เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ

1. เครื่องวัดความชื้นแบบมีเข็ม (Pin Moisture Meter)

มีโลหะสองชิ้นอันเป็นเซนเซอร์ มีลักษณะคล้ายเข็ม ไว้สำหรับเจาะวัสดุ หรือชื้นงานที่ต้องการวัดโดยความยาวของเข็ม ขึ้นอยู่กับจุดที่เราต้องการวัดความชื้น ณ จุดนั้น (สามารถเลือกได้ตามงานที่ต้องการ) นอกจากเซนเซอร์แบบเข็มที่ติดอยู่กับที่ตัวเครื่องแล้ว สำหรับเครื่องวัดความชื้นรุ่น KMT-70 ยังมีเซนเซอร์วัดความชื้นแบบอื่นๆ ให้เลือกใช้ตามการใช้งาน เพิ่มความยืดหยุ่นและสะดวกต่อการใช้งานน สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย โดยมีเซนเซอร์ให้เลือกดังนี้

หลักการทำงานของเครื่องวัดความชื้นแบบมีเข็ม เครื่องวัดความชื้นแบบมีเข็มใช้ หลักการทำงานของ ความต้านทานไฟฟ้าเพื่ออ่านค่าความชื้นในวัตถุดิบ เมื่อใช้เซนเซอร์ หรือเข็ม เจาะลงไปในเนื้อวัตถุดิบ เครื่องวัดความชื้นแบบมีเข็มจะปล่อยกระแสไฟอ่อนๆ ผ่านเซนเซอร์แบบเข็มคู่ และกระแสจะไหลผ่านความชื้นในเนื้อวัตถุดิบ พร้อมส่งค่าย้อนกลับคืนไปที่มิเตอร์เพื่อแสดงผลค่าความชื้น โดยวัตถุดิบมีความชื้นมากความต้านทานก็จะน้อย ส่งผลให้กระแสไหลผ่านมาก เพราะค่าความชื้นมากสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ดีนั่นเอง และในทางกลับกัน หากวัตถุดิบมีความชื้นน้อยแสดงว่าวัตถุดิบนั้นมีความต้านทานมาก

เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ

2. เครื่องวัดความชื้นแบบไม่มีเข็ม (Pinless Moisture Meter) หรือแบบสัมผัสพื้นผิว

หลักการทำงาน โดยมีแผ่นเซนเซอร์ด้านหลังเครื่อง ที่ใช้สัมผัสกับพื้นผิว โดยการวัดแบบนี้จะไม่ทำลายพื้นผิวของวัตถุ แต่พื้นที่จะทำการวัดต้องเป็นพื้นเรียบแนบสนิทกับเซนเซอร์ และสามารถวัดพื้นผิวลึกลงไปประมาณ 0-55 มม. ดังนั้น การวัดแบบนี้ ข้อควรระวังคือ เซนเซอร์ต้องสัมผัสพื้นผิวเต็มหน้าสัมผัส  และพื้นผิวที่จะทำการวัดมีลักษณะเรียบแนบกับแผ่นเซนเซอร์  เพื่อให้ค่าที่วัดได้มีความแม่นยำ

การทำงานของเครื่องวัดความชื้นแบบไม่มีเข็ม หรือแบบสัมผัสผิว

ใช้หลักการทำงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่นเซนเซอร์ด้านหลังเครื่อง จากนั้นเครื่องวัดจะสร้างปริมาณความชื้น (ค่าความชื้น) ที่สัมพันธ์กับค่าสัญญาณที่อ่านได้โดย แม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งกลับมา จะได้ค่าความชื้นแสดงที่หน้าจอ ส่วนใหญ่เครื่องวัดความชื้นแบบไม่มีเข็มจะนิยมใช้ในงานที่วัดค่าพื้นผิวบริเวณกว้าง เช่นการวัดความชื้นในพื้นปูนก่อนทาสี เครื่องวัดลักษณะนี้ สามารถวัดค่าพื้นผิวได้กว้าง และได้ค่าเฉลี่ยความชื้นที่แม่นยำ

เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ

3. เครื่องวัดความชื้นดิน (Soil Moisture Meter)

เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความชื้นในดิน ที่ระดับต่าง ๆ ตามความยาวของเซนเซอร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการเกษตร เพื่อให้ทราบถึงสภาพดินก่อนการเพาะปลูกพืชหรือต้นไม้ และวัดความชื้นในดินเพื่อตรวจสอบว่ามีความชื้นเพียงพอสำหรับต้นไม้หรือไม่

การทำงานของเครื่องวัดความชื้นดิน (Soil Moisture Meter) หลักการทำงานคล้ายกับการทำงานของ เครื่องวัดความชื้นแบบมีเข็ม (Pin Moisture Meter) แต่จะต่างกันที่เซนเซอร์ที่ใช้ ซึ่งจะเป็นแบบก้าน เพื่อให้สามารถวัดความชื้นได้ลึก

เครื่องความชื้นดินเหมาะสำหรับวัดความชื้นในดิน, ดินทราย, ปุ๋ยหมักธรรมชาติ, ขี้เลื่อย, เยื่อกระดาษ, วัสดุก่อสร้าง, กากตะกอนอุตสาหกรรม และปุ๋ยเคมี

เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ

ซึ่งทาง SCMA นั้นก็มี เครื่องวัดความชื้นในวัตถุดิบแบบต่างๆ จากแบรนด์ชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศ มั่นใจในเรื่องคุณภาพได้อย่างแน่นอน และยังมีทีมงานประสบการณ์สูง ที่พร้อมคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษาสำหรับการใช้งานได้อย่างไหลลื่น