การก่อตั้งโรงงาน

สำหรับการจัดก่อตั้งโรงงานเพื่อทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ แล้ว จะต้องมีการเตรียมตัว และเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการจัดตั้ง หรือหากติดขัดปัญหาอะไรก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้การก่อตั้งโรงงานนั้นสามารถผ่านไปได้อย่างราบรื่น SCMA ขอแนะนำนำ การเตรียมตัวให้และเอกสารสำหรับ การก่อตั้งโรงงาน ว่าจะต้องมีอะไรบ้าง

เตรียมตัวก่อนการก่อตั้งโรงงาน

การก่อตั้งโรงงาน

อันดับแรกที่จะต้องรู้นั้นก็ได้แก่ การขออนุญาตตั้งโรงงานและขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย ในปัจจุบัน พ.ร.บ. โรงงานฉบับแก้ไขใหม่ พ.ศ. 2562 นั้นก็ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้โรงงานขนาดเล็กสามารถประกอบกิจการได้ง่ายขึ้น ส่วนโรงงานขนาดใหญ่ก็จะได้รับความสะดวกสำหรับการประกอบกิจการได้มากขึ้น ซึ่งก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยน พ.ร.บ. ใหม่นั้น ได้ให้ความหมายของโรงงานไว้ว่า

สถานประกอบการที่มีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และจำนวนพนักงานตั้งแต่ 7 - 20 คน แต่ว่าฉบับปรับปรุงใหม่นี้ ก็ได้เปลี่ยนความหมายของโรงงานให้เป็น อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่มีเครื่องจักรกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป และพนักงานจำนวนตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป หากเครื่องจักรและจำนวนคนนั้นไม่ถึง ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือ ร.ง.4 

และจากเดิมที่ผู้ประกอบการทั่วไปต้องทำการต่ออายุของใบ ร.ง.4 ทุก ๆ 5 ปี นั้นก็ได้ทำการเปลี่ยนมาเป็นไม่ต้องต่ออายุใบ ร.ง.4 อีกต่อไป เพราะว่าได้มีการแก้ให้ใบ ร.ง.4 ไม่มีวันหมดอายุแล้วนั่นเอง

สาเหตุที่ต้องขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) 

ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) คือ คือ ใบอนุญาตสำหรับการก่อตั้งโรงงานที่ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมออกให้ สำหรับสาเหตุสำคัญที่ต้องทำการขอใบ ร.ง.4 ในการจัดตั้งโรงงานนั้นก็เพื่อให้เข้ากับข้อกำหนดของทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อดูแลสถานที่ตั้ง โครงสร้างอาคาร สำหรับการดูแลผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมของบริเวณโดยรอบ

ประเภทของโรงงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบ ร.ง.4

สำหรับประเภทของโรงงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบ ร.ง.4 แต่ต้องทำการแจ้งให้เจ้าพนักงานนั้นรับทราบก่อนทำการก่อตั้ง ก็ได้แก่

  • โรงงานของหน่วยงานราชการ
  • โรงงานที่จัดตั้งเพื่อการศึกษาและการวิจัย
  • โรงงานของสถาบันการศึกษาสำหรับการฝึกอบรม
  • โรงงานที่เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว
  • โรงงานที่จำเป็นและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่มิใช่โรงงานตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้และตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

และสำหรับประเภทของโรงงานทั้งหมดนั้น สามารถเข้าไปดูและอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่บทความนี้ 

การก่อตั้งโรงงาน

สถานที่ห้ามก่อตั้งโรงงาน

สำหรับการก่อตั้งโรงงานนั้นไม่ใช่ว่าสามารถตั้งได้ในทุกสถานที่ โดยข้อห้ามนั้นก็ได้แก่

  1. ห้ามตั้งใกล้กับพื้นที่ชุมชน ที่พักอาศัย หมู่บ้าน หรืออาคารชุด 
  2. โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามตั้งภายในระยะ 50 เมตร ของบริเวณพื้นที่สาธารณะ
  3. โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามตั้งอยู่ภายในระยะ 100 เมตร ของบริเวณเขตติดต่อสาธารณสถาน

การขอดำเนินการก่อตั้งโรงงานสามารถติดต่อได้ที่ไหนบ้าง

  • พื้นที่กรุงเทพมหานคร ยื่นขอใบอนุญาตได้ที่ ศูนย์บริการสารพันทันใจ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่เปิดทำการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30น. 
  • พื้นที่ต่างจังหวัด ยื่นขอได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมประจำจังหวัด
  • ยื่นเรื่องในช่องทางออนไลน์ที่ ระบบยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบบดิจิทัล

เอกสารในการยื่นคำขอก่อตั้งโรงงานใช้อะไรบ้าง

การก่อตั้งโรงงาน

  • คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (สำหรับโรงงานที่จดเป็นนิติบุคคล และ สำเนาอายุไม่เกิน 3 เดือน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านหรือหนังสือเดินทางของผู้ลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จัดตั้งโรงงานหรือโฉนดที่ดินของโรงงาน
  • แบบแปลนแผนผังอาคารภายในโรงงาน ผ่านการลงนามรับรองความปลอดภัยจากวิศวกร
  • แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร ผ่านการลงนามรับรองความปลอดภัยจากวิศวกร
  • สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง
  • ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
  • เอกสารเพิ่มเติมอื่น ๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนด

ขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตการก่อตั้งโรงงาน

  • ผู้ประกอบการดำเนินการยื่นคำขอพร้อมเอกสารทั้งหมดที่เตรียม
  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสาร
  • เจ้าหน้าที่ทำการลงรับเรื่อง
  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและพิจารณาการประกอบกิจการไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต ทำเลที่ตั้ง การป้องกันเหตุเดือนร้อนรำคาญ และการบำบัดมลพิษ
  • เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานสรุปผลของการตรวจสอบเอกสาร
  • เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ประกอบการ เพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ร.ง.4 ให้กับผู้ที่ได้รับอนุมัติ

หากในกรณีที่ไม่ผ่านการอนุมัติ ผู้ประกอบการมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลา 30 วัน

ความผิดสำหรับการก่อตั้งโรงงานโดยไม่มีใบอนุญาต ร.ง.4

แน่นอนว่าหากไม่ใช่โรงงานที่ได้รับการยกเว้น แล้วทำการก่อตั้งโดยที่ไม่ได้ทำเรื่องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ก็ถือว่ามีความผิด โดยเป็นการฝ่าฝืนโดยเจตนา ทำให้มีโทษตามกฎหมาย ซึ่งก็แบ่งประเภทของความผิดได้เป็น 2 แบบ ตามประเภทของโรงงาน ได้แก่

  • โรงงานประเภทที่ 2 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 50,000 บาท แต่ถ้าแจ้งหน้าที่ไม่ครบปรับไม่เกิน 20,000 บาท 
  • โรงงานประเภทที่ 3 จัดตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เพราะฉะนั้นแล้วสำหรับใครก็ตามที่ต้องการก่อตั้งโรงงานเพื่อดำเนินกิจการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อทำการยื่นเรื่อง และเมื่อได้รับกาอนุมัติให้สามารถก่อตั้งโรงงานได้แล้ว จะได้ทำการก่อตั้งได้อย่างสบายใจ และดำเนินกิจการได้แบบไม่มีอะไรติดขัด สำหรับใครที่อยากจะยกระดับโรงงานของตนให้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ก็สามารถติดต่อมาได้ที่ SCMA เพราะเรานั้นมีอุปกรณ์และเครื่องมือ รวมถึงเซนเซอร์จากแบรนด์ ifm แบรนด์ดังจากเยอรมัน ที่จะทำให้โรงงานของคุณนั้นสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะอย่างแท้จริง

 

ข้อมูลอ้างอิง : กรมโรงงานอุตสาหกรรม, vkb.co.th, wolftcb.com, industrial.frasersproperty.co.th, proindsolutions.com